เมนู

บุคคลใดย่อมรู้อรรถ ที่ท่านอธิบายทำให้พิศดารนั่นแหละ เพราะเหตุ
นั้นบุคคลนั้นจึงชื่อว่า วิปัญจิตัญญู แปลว่า ผู้รู้อรรถอันท่านอธิบายแล้ว
สองบทว่า "อยํ วุจิจติ" ความว่า บุคคลนี้ คือ ผู้มีความสามารถ
เพื่อบรรลุพระอรหัต ในเมื่อมีผู้อื่นตั้งบทมาติกาไว้โดยย่อแล้วจำแนกเนื้อ
ความโดยพิศดาร ท่านจึงเรียกว่า วิปัญจิตตัญญู.

วิเคราะห์ศัพท์ เนยยบุคคล


อุทฺเทสาทีหิ เนตพฺโพติ เนยฺโย

บุคคลใด อันผู้อื่นพึงแนะนำ
ด้วยบททั้งหลายมีอุเทศเป็นต้น เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า เนยฺโย
ผู้อันบุคคลพึงแนะนำไป.
สองบทว่า "อนุปุพฺเพน ธมฺมาภิสมโย" ได้แก่ การบรรลุพระ-
อรหัตตามลำดับ.

วิเคราะห์ศัพท์ ปทปรมบุคคล


พฺยญฺชนปทเมว ปรมํ อสฺสาติ ปทปรโม

บทแห่งพยัญชนะนั่น
เทียว เป็นอย่างยิ่งของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ปท-
ปรโม
ผู้มีบทอย่างยิ่ง.
ข้อว่า "น ตาย ชาติยา ธมฺมาภิสมโย โหติ" อธิบายว่า ปทปรม-
บุคคลนั้น ไม่สามารถเพื่อจะทำฌาน วิปัสสนา มรรค ผล ให้เกิดขึ้นได้ด้วย
อัตภาพนั้น.